สวัสดีครับ เพื่อนๆ บทความความรู้เรื่องนี้ ที่ได้จากเพื่อนๆ บนอินเตอร์เน็ต ยังคงวนเวียนอยู่กับเงินๆ ทองๆ และธนาคาร อีกแล้วครับ วันนี้ (6/1/2552) ผมได้รับอีเมล์ที่แนะนำในเรื่องการปิดบัญชี แล้วไม่เสียโอกาสในการได้รับดอกเบี้ยนะครับ ลองอ่านกันดูนะครับ และตอนท้ายผมยังได้ให้ข้อมูลที่ได้โทรไปสอบถามข้อเท็จจริงกับทางธนาคารมา รวมทั้งผมยังเสนอแนะเล็กๆ น้อยๆ อีกด้วยครับ
.
.......................................
ที่มาบอกเนี่ยเพราะเป็นวิธีที่ธนาคารปกปิดมาตลอด
เคยมีหนังสือพิมพ์ออกมาขายแต่ธนาคารสั่งเก็บหมด
โปรด..อ่าน..ช้า ช้า.......
หากคิดต้องการถอนเงิน โดยจะไม่ใช้บัญชีนี้อีกต่อไปแล้ว......
ห้ามเบิกเงินแค่ที่มีในบัญชี ให้ใช้วิธี....ไม่กรอกตัวเลข ... แต่..เขียน.. ปิดบัญชี
เพียงเท่านี้..ธนาคารต้องจ่ายดอกเบี้ยคุณ 6 เดือน
วิธีนี้..เป็นวิธีที่ธนาคารไม่พยายามบอกคนฝากเงิน เพราะธนาคารมันเสียเปรียบ...
แต่ต้องเป็นกรณีที่เป็นบัญชีออมทรัพย์นะ ถ้าเป็นบัญชี ฝากประจำเราจะไม่ได้ดอก เพราะถือว่าฝากไม่ครบตามกำหนด
แต่ถ้าบัญชีเงินฝากแบบออมทรัพย์ หรือที่เรียกว่า savings (สะสมทรัพย์) ธนาคารจะคิดดอกให้ทุกวันตามยอดเงินที่มี...เข้า ๆ ออก ๆ เมื่อครบ 6 เดือนจะต้องคิดดอกเบี้ยให้
ดังนั้นถ้าใครปิดบัญชี เขาก็ต้องคิดดอกมาให้ด้วยส่วนมากประชาชนจะไม่รู้ ก็จะถอนแค่จำนวนเงินที่มีในบัญชี แล้วก็ทิ้งสมุดไว้..ตรงนี้แหละที่ธนาคารได้กำไร เพราะสมุดนั้นพอทิ้งไว้นานเกินก็จะปิดไปเอง และเดี๋ยวนี้ธนาคารส่วนมากจะกำหนดให้ บัญชีต้องมีเงินเหลือติดอยู่ อย่างน้อย ๆ 500 บาท หากขาดการเคลื่อนไหวนานเกิน 3 - 6 เดือน ก็จะเริ่มหักค่ารักษาบัญชี รายละประมาณ 50 บาทหรือไงเนี่ยแหละ
ที่บอกนี่เป็นผลประโยชน์ของผู้บริโภคน่ะ แต่ส่วนมากมักจะไม่ชอบไปธนาคาร ถอนทางเอทีเอ็ม แล้วก็คิดว่าที่เหลือแค่เศษสตางค์ช่างมัน..พอเราขาดการติดต่อธนาคาร เขาก็หักค่ารักษาบัญชี เงินไม่พอเขาก็ปิด บช เองตามกฎ
.............................................
.
ครับ หลังจากที่ผมได้อ่านอีเมล์นี้แล้ว ผมก็ได้โทรไปสอบถามเบอร์ Call Center ธนาคาร ที่มีเลข 7 ตัว เหมือนกันหมด ได้ความว่า โดยปกติการปิดบัญชีนั้น ทางเจ้าหน้าที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ เมื่อเราแจ้งเจ้าหน้าที่ เขาก็จะอัพเดทยอดเงิน และดอกเบี้ย ณ วันที่จะปิดบัญชีไปด้วย แล้วก็ให้ลูกค้ากรอกจำนวนทั้งหมดที่โชว์ในสมุดบัญชี ซึ่งถือว่าเป็นระเบียบปกติ
.
ผมคิดว่า การที่ในอีเมล์แนะนำว่าให้เขียน "ปิดบัญชี" ในใบถอนเงินนั้น ก็ไม่ต่างอะไรกับเราบอกเจ้าหน้าที่ว่า ขอปิดบัญชี เหมือนกัน ดังนั้นการทำในลักษณะนี้ก็ถือว่าเป็นการรักษาสิทธิ์ ตัวผมเองบางทีก็กดเงินจาก ATM ให้ได้เท่าที่ยอดจะถอนได้ บางทีก็เหลือเงิน 50 บาท เป็นต้น แล้วก็ปล่อยให้บัญชีถูกปิดอัตโนมัติ ซึ่งก็น่าจะเหมือนคนส่วนใหญ่
.
แต่ทั้งนี้ ผมก็อยากให้มองเจตนาดีไว้ก่อนนะครับ แต่กันพลาด เพื่อนๆ ก็รักษาสิทธิ์ไว้ก่อนก็เป็นการดีนะครับ แนะนำนิดหน่อย คือเดี๋ยวนี้จะมีเครื่องอัพเดทสมุดบัญชี ก่อนปิดบัญชี ก็อัพเดทซะหน่อยก็ดีครับ จะได้อุ่นใจ ที่เหลือก็แค่ให้เจ้าหน้าที่ดูดอกเบี้ยเท่านั้น อย่าลืมนะครับ ดอกเบี้ยออมทรัพย์นั้น ถึงจะน้อย ก็มีทุกวันครับ
ขอบคุณครับ
.
ปรีดา ลิ้มนนทกุล
mobile : 086-322-9307
email : preeda.limnontakul@gmail.com
website : http://www.educationatclick.com/
ปรีดา ลิ้มนนทกุล
mobile : 086-322-9307
email : preeda.limnontakul@gmail.com
website : http://www.educationatclick.com/
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I7342380/I7342380.html
ReplyDeleteได้รับข้อมูลแล้วครับขอบคุณมากครับ
ReplyDeleteหวัดปีใหม่ขอให้สุขภาพและครอบครัวมีความสุขครับ
ประศม
แลกประสบการณ์และความรู้ทีwww.jariyasakom.com
ReplyDeletethanks
ขอบคุณมากๆค่ะ ได้ความรู้มากๆ
ReplyDeleteขอบคุณกับความรู้ที่นำมาแบ่งปัน
ReplyDeleteสวัสดีปีใหม่นะค่ะ
ReplyDeleteขอให้มีความสุขมากๆ ขอให้พบแต่สิ่งดีๆ ค่ะ และถ้าวันใดพบเจอกับเรื่องที่รบกวนจิตใจก็ขอให้ผ่านพ้นไปด้วยดีขอให้โชคดีสวัสดีปี2552นะค่ะ
สวัสดีปีใหม่ค่ะ ขอให้มีสุขภาพแข็งแรง คิดสิ่งใดสมความปรารถนาทุกประการ
ReplyDeleteขอบคุณที่ส่งข้อความดี ๆ มาให้นะค่ะ
สวัสดีปีใหม่ค่ะ ขอให้มีสุขภาพแข็งแรง คิดสิ่งใดสมความปรารถนาทุกประการ
ReplyDeleteขอบคุณที่ส่งข้อความดี ๆ มาให้นะค่ะ
ขอบคุณค่ะสำหรับบทความดีๆนะคะ ได้ความรู้มากทีเดียวค่ะ เยี่ยมมากเลย
ReplyDeleteสวัสดีปีใหม่ครับ คุณปรีดา ก่อนอื่นผมขอให้ท่านสุขภาพแข็งแรง
ReplyDeleteสุขสมหวังในสิ่งที่คาดหวังในทุกๆ ประการ
ผมขอชี้แจง ข้อเท็จจริง ในเรื่องการปิดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์
หรือสะสมทรัพย์ ในฐานะพนักงานธนาคารและนักกฏหมายคนหนึ่งนะครับ
ปัญหาของสังคมไทยอย่างหนึ่ง คือ ความไม่รู้ ถ้าทุกๆ คน รักการเรียนรู้
พยายามใฝ่หาความรู้ในเรื่องต่างๆ ให้รู้จริง แจ้งชัด ชาติไทยเจริญครับ
การฝากเงินประเภทออมทรัพย์หรือสะสมทรัพย์ เงื่อนไขในการคำนวณดอกเบี้ยให้แก่ผู้ฝากเงิน คือ ยอดเงินฝากคงเหลือคูณอัตราดอกเบี้ย
แบบ วันต่อวัน ครับ แต่ทุกๆ ธนาคารจะนำเงินในส่วนของดอกเบี้ยเข้าบัญชีให้ ทุกๆ 6 เดือนครับ หมายความว่า ธนาคารจ่ายดอกเบี้ยให้ทุกวัน แต่จะนำเงินในส่วนของดอกเบี้ยเข้าบัญชีให้ในวันสิ้นสุดไตรมาสที่ 2 และ 4 ครับ
ที่นี้ ประเด็น ในการปิดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์หรือสะสมทรัพย์นั้น
1.ถ้าคุณแจ้งความประสงค์ต่อเจ้าหน้าที่ธนาคาร ว่าคุณขอปิดบัญชีเงินฝาก
พนักงานธนาคารจะคำนวณในส่วนดอกเบี้ยเงินฝาก ณ วันนั้น ของคุณ ให้คุณเห็นแล้วจึงค่อยเขียนใบถอนเงินฝากครับ
2.ถ้าคุณไม่แจ้งความประสงค์ขอปิดบัญชี คุณเขียนใบถอนเงินตามที่คุณเข้าใจ คุณก็จะได้รับเงินตามที่คุณเขียนใบถอนเงินครับ
...ความเป็นจริงของธนาคารในประเทศไทย แบ่งหลักๆ ได้ 2 ประเภท
1.ธนาคารพาณิชย์ และ2.ธนาคารของรัฐบาล ธนาคารพาณิชย์ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าทำการในเชิงพาณิชย์ แสวงหากำไรเต็มรูปแบบ ซึ่งเป็นของเอกชน ส่วนธนาคารของรัฐบาลนั้น มีวัตถุประสงค์แตกต่างกันไป ตามที่รัฐบาลเป็นผู้กำหนด
ผมสมมุติเป็นอุทธาหรณ์ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ เช่น นาย ก. มีเงินฝากประเภทสะสมทรัพย์ 1 แสนบาท ฝากไว้ได้ ระยะเวลา 3 เดือนมีความจำเป็น ต้องถอนเงินฝากทั้งหมดไปใช้
-ถ้าไปถอนธนาคารพาณิชย์ โดยไม่แจ้งความประสงค์ เขียนใบถอนเงิน 1 แสนบาทถ้วน ก็จะได้รับเงินตามจำนวนที่ถอน โดยพนักงานธนาคารพาณิชย์ คงไม่บอกสิทธิที่พึงจะได้รับ เพราะเป็นประโยชน์กับทางธนาคาร
-ถ้าไปถอนธนาคารของรัฐบาล โดยไม่แจ้งความประสงค์เช่นกัน เขียนใบถอนเงิน 1แสนบาทถ้วน ผมเชื่อว่า เจ้าหน้าที่ธนาคารโดยส่วนใหญ่จะแจ้งสิทธิประโยชน์ที่พึงจะมีพึงจะได้ เช่น จะปิดบัญชีเลยหรือไม่ครับ? ถ้าปิดบัญชีเลยคุณจะได้ในส่วนของดอกเบี้ยตามกำหนดระยะเวลาของเงินที่นอนอยู่ในบัญชี ถ้าคุณยังไม่มีความประสงค์จะปิดบัญชี สิ่งที่จะเกิดขึ้นคืออะไร? เช่น ดอกเบี้ยในส่วนที่คุณจะได้ จะเข้าบัญชีให้ ในวันที่ 30มิ.ย.หรือ31ธ.ค.และถ้าบัญชีไม่เคลื่อนไหวหรือมีเงินฝากน้อยกว่า500บาท(แล้วแต่เงื่อนไขของแต่ละธนาคาร)ธนาคารจะหักค่ารัษาบัญชีปีละเท่านั้นเท่านี้
เห็นความแตกต่างมั๊ยครับ? ธนาคารพาณิชย์ เค้าไม่ได้คดโกงเพียงแต่ไม่ชี้แจงสิทธิประโยชน์ของลูกค้าเท่านั้น เพราะเค้าแสวงหากำไรเต็มรูปแบบ ส่วนธนาคารของรัฐบาลส่วนใหญ่ ไม่หน้าเลือดขนาดปกปิดข้อเท็จจริงเพื่อนำเงินเพียงน้อยนิดเข้ารัฐบาลดอกหรอกครับ
สรุป มันไม่ใช่รายได้หลักของธนาคารทุกๆ แห่ง โดยเฉพาะถ้าลูกค้ามีเงินฝากประเภทออมทรัพย์หรือสะสมทรัพย์(สำหรับหมุนเวียนไม่ใช่เงินนอนกินดอกเบี้ย) ส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้ารายย่อยที่ไม่ค่อยสนใจในดอกเบี้ยของส่วนนี้ แต่ถ้าเป็นลูกค้าระดับหนึ่งแสนบาทขึ้นไปไม่พลาดกับดอกเบี้ยส่วนนี้ครับ
ป.ล.หัวข้อเรื่อง "วิธีปิดบัญชีธนาคารอันชาญฉลาด ที่ถูกปกปิดมานาน" มันดูจะ เว่อร์ๆ ไปหน่อยนะครับ
...วัยกลางคน...trues1967@hotmail.com
www.udomkarn.co.nr/
สวัสดีครับ คุณวัยกลางคน
ReplyDeleteอย่างที่ผมเกริ่นตอนต้นนั่นแหละครับ เป็นอีเมล์ที่ได้รับมา จึงต้องขึ้นหัวข้อตามที่เพื่อนๆ ส่งต่อกีนมา ถ้าจะเปลี่ยนหัวข้อเรื่อง ก็กลัวว่าจะไม่ตรงกันกับอีเมล์ที่ได้รับครับ
และต้องขอบคุณมากๆ เลยนะครับ ที่ช่วยอธิบายให้เพื่อนๆ ได้เข้าใจ แถมยังเป็จเจ้าหน้าที่ธนาคารมาเอง ยิ่งได้เครดิตเข้าไปใหญ่
ขอบคุณมากครับ
ปรีดา ลิ้มนนทกุล
ขอบคุณค่ะ
ReplyDelete