little-8 : ประหยัดไฟง่ายๆ ที่คุณอาจมองข้ามไป

สวัสดีครับ เพื่อนๆ ทุกคน วันนี้ผมมีความรู้เล็กๆ น้อยๆ มาฝาก เป็นเรื่องง่ายๆ ที่ทุกคนอาจมองข้ามไป แม้แต่คนที่มีความรู้อยู่แล้วก็ตาม เพราะว่าเป็นความรู้ที่ใครๆ ก็ทราบกัน แต่อาจคิดไม่ถึงเท่านั้น และก็อาจช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าของคุณด้วยครับ

เพื่อนๆ เคยมีประสบการณ์ " ท่อประปาในบ้านรั่ว มิเตอร์น้ำไม่หยุดหมุน " หาไป หามา ก็พบว่าท่อประปารั่วครับ ซึ่งสาเหตุหลักๆ ก็เพราะว่า

1. โครงการมักวางท่อน้ำประปา (PVC สีฟ้า ซึ่งควรใช้หนา 13.5 มิลลิเมตร เรียก ชั้น 13.5 บางโครงการก็ลดต้นทุนโดยใช้แค่ชั้น 8.5 หรือบางทีก็เป็นผู้รับเหมาลักไก่ก็ได้) ซึ่งถ้าเกิดพื้นทรุด ก็ทำให้เป็นสาเหตุให้ท่อรั่วได้

2. แล้วทำไมถึงรั่ว ก็เพราะเวลาเดินท่อน้ำประปา มันไม่ได้เดินตรงอย่างเดียว ต้องมีหักมุม เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา มีทางแยกไปตรงนั้น ตรงนี้ สรุปก็คือต้องมีข้อต่อร่วมด้วย นี่แหละครับที่มักเป็นตำแหน่งที่ท่อประปารั่ว

3. ส่วนสาเหตุที่รั่ว จริงๆ แล้วน่าจะมีเหตุผลใหญ่ 2 สาเหตุ คือ พื้นทรุด หรือทีอะไรไปกดทับ และ กาวยาท่อหมดอายุครับจนทนแรงดันน้ำไม่ได้

4. แรงดันน้ำส่วนใหญ่ ก็เพราะหลายๆ บ้านใช้ปั๊มน้ำครับ

ทำไมผมถึงเกริ่นเรื่อง " จุดรั่วของน้ำประปา " ก่อน ก็เพราะว่าผมต้องการสร้างจินตนาการให้ทุกคนเห็น " น้ำประปารั่ว " ซึ่งเราสังเกตุเห็นง่าย ปิดก๊อกทุกจุดในบ้าน มิเตอร์หมุน ก็จะทราบ แต่ " ไฟรั่ว " แล้ว " กินตังค์ " มองไม่เห็น ไม่เหมือนน้ำ เริ่มสังเกตุกันเลยนะครับ

ตามหลักการไฟฟ้า ที่ผมเคยเรียนมา มีบทหนึ่งที่พูดถึง " การ spark หรือ การกระโดดของไฟฟ้าที่มีช่องว่างระหว่างตัวนำไฟฟ้า หรือเรียกว่า จังหวะสวิตซ์ชิ่ง (switching) หรือ........ ผมว่า ไปไป มามา ผมจะงงเอง เอาภาษาง่ายๆ เข้าใจง่ายดีกว่าครับ วิชาการช่างมัน รู้มากๆ บางทีก็ไม่ได้ใช้ครับ

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือการเปิดสวิตซ์ไฟฟ้าครับ ตอนเรากดสิตซ์นั่นแหล่ะครับ ภายในสวิตซ์จะมีสะพานไฟไปเชื่อมกัน ทำให้หลอดไฟสว่าง ช่วงนั้นจะต้องใช้ปริมาณไฟฟ้ามาก หรือมีการเชื่อมจุดเชื่อม เพื่อให้ไฟฟ้าเดินครบวงจร และถ้าสวิตซ์เสีย เราลองไปฟังเสียงใกล้ๆ บางคนอาจเคยได้ยินเสียง " เปรี๊ยะๆ " นั่นแหละครับ เป็นจุดที่ ไฟฟ้าต้องกระโดดเชื่ออมถึงกันตลอดเวลา ทำให้กินไฟได้ อันตรายด้วยนะครับ เพราะบริเวณนั้นจะมีความร้อนมากกว่าปกติ

ดังนั้น จุดที่เป็น " ปลั๊ก " กับ " สวิตซ์ " นานๆ ครั้ง ก็ควรตรวจสอบบ้าง ขันน็อตที่ ล็อคสายไฟให้แน่น อย่าหลวม จุดขันน็อตที่เบเกอร์ควบคุมไฟฟ้า น็อตทุกตัวในตู้เมนไฟแน่นดีหรือเปล่า เหล่านี้สามารถช่วยประหยัดไฟให้ท่านได้ ปลอดภัยด้วย

ต่อไปเป็นสายไฟครับ ไม่ควรมีจุดเชื่อมต่อมาก ถ้ามีก็ควรให้แน่นหนา ตามหลักไฟฟ้า เช่น ใช้ตัวแยกไฟ หรือตลับแยกไฟ หรือใช้ตัวขันสายไฟให้แน่น ท่านซื้อบ้าน ท่านทราบหรือไม่ว่า บนฝ้าเพดานสวยๆ เขาเดินสายไฟฟ้าให้ท่านอย่างไร เรียบร้อยไหม ถูกต้องไหม ท่านเคยขึ้นไปดูหรือไม่ เพราะถ้าจุดเชื่อมต่อเหล่านี้ " หลวม " ก็ทำให้เกิดการกระโดดของไฟฟ้าเช่นกัน ก็จะเปลืองไฟ และเปลืองเงินท่าน

ดังนั้นแล้ว เพื่อนๆ จะเห็นว่า ผมจะเน้น จุดต่างๆ ที่จะทำให้เกิด " การกระโดดของไฟฟ้า " ซึ่งก็จะทำให้เปลืองไฟนั่นเอง ยังไงก็ลองสำรวจดูนะครับ ถ้าทำไม่เป็น ก็ต้องเรียกช่างนะครับ เดี๋ยวจะเป็นอันตราย กลายเป็นว่า ประหยัดไม่เข้าเรื่องไปซะ

บทความนี้ผมอยากอธิบายให้ได้อ่านกัน เพราะผมเคยมีประสบการณ์ตรง จึงนำมาแชร์กันครับ ลองดูนะครับ อาจจะประหยัดได้อีกนิดหน่อยก็ยังดีครับ

ขอบคุณครับ
ปรีดา ลิ้มนนทกุล
mobile : 086-322-9307 email : preeda.limnontakul@gmail.com
website : http://www.educationatclick.com/ , http://pwdom.com/
update : June 29, 2007

1 comment:

  1. กู่ วันที่ : 02/08/2007 เวลา : 15.09 น.
    http://www.oknation.net/blog/shadowy
    กู่ ) ) ) ) ) ) ก้อง ! ! ! ! ! ร้องหากันวันละนิด จิตแจ่มใส



    ขอบพระคุณค่ะ สำหรับความรู้

    ReplyDelete

บทความที่ได้รับความนิยมในการอ่าน 1-10 อันดับแรก